ระบบให้บริการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับใช้งานออนไลน์
 

ส่วนช่วยเหลือและแนะนำบริการ
 

ส่วนที่ 1 การลงทะเบียนขอใช้บริการ

1. ผู้เสียภาษีอากรลงทะเบียนบริการอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และพิมพ์ข้อมูลลงทะเบียน
2. กรมสรรพากรส่งอีเมล์ตอบรับการลงทะเบียน
3. ผู้เสียภาษีอากรยื่นหลักฐานการลงทะเบียนที่ สท.ตามที่ตั้งของสถานประกอบการ หรือที่ ภญ.
4. กรมฯ ส่งอีเมล์แจ้งผลการตรวจเอกสาร และผลการอนุมัติการลงทะเบียน กรณีอนุมัติกรมฯ จะส่งรหัสผู้ใช้งาน/รหัสผ่านสำหรับผู้ดูแลระบบ และใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ให้พร้อมกันในอีเมล์
5. ผู้ดูแลระบบ Login เข้าใช้ระบบงาน  กรณีเข้าใช้งานครั้งแรกจะต้องเปลี่ยนรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านก่อน  บันทึกชื่อหน่วยงานผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย   ชื่อผู้ติดต่อกับกรมสรรพากร  สร้างรหัสผู้ใช้งาน  ติดตั้งโปรแกรม JDK  และใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์
6. ผู้ใช้งาน Login เข้าใช้ระบบงาน  กรณีเข้าใช้งานครั้งแรกจะต้องเปลี่ยนรหัสผ่านก่อน  ระบุผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย

ส่วนที่ 2 การใช้งานโปรแกรมเงินเดือน

การเริ่มใช้งาน
1. ผู้ใช้งาน Login เข้าใช้ระบบงาน  และระบุผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
2. บันทึกรายละเอียดหน่วยงาน ตราสัญญลักษณ์ (โลโก้)หน่วยงาน กำหนดชื่อ ตำแหน่ง พร้อมลายเซ็นต์ผู้ลงนามในใบรับรองการจ่ายเงินเดือน หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย
3. กำหนดค่าเริ่มต้นต่างๆ เพื่อเริ่มใช้งาน เช่น  สำนัก/กอง/โรงเรียน ส่วน ฝ่าย  แผนก ตำแหน่ง ประเภทเงินได้  (คำนวณภาษี/ไม่คำนวณภาษี)
4. ตรวจสอบเกณฑ์การคำนวณภาษีและเกณฑ์ค่าลดหย่อน ตามที่กฎหมายกำหนด


ข้อควรทราบก่อนทำรายการ
1. เตรียมเอกสารพนักงาน เลขประจำตัวประชาชน หรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (สำหรับชาวต่างชาติ) รายการจ่ายเงินได้แต่ละเดือน และค่าลดหย่อน เริ่มตั้งแต่ต้นปี กรณีป้อนย้อนหลังให้เรียงรายการจ่ายเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคม หรือเดือนที่เริ่มมีการจ่ายเงินเดือนภายในปีนั้น ตามลำดับ
2. จะต้องบันทึกรายการเงินได้ก่อนที่จะมีการจ่ายเงินเดือนและหักภาษีในแต่ละเดือน
3. ดำเนินการทีละเดือนห้ามข้ามเดือน เนื่องจากโปรแกรมจะทำงานในลักษณะพันยอดภาษีไป
4. บันทึกรายละเอียดพนักงาน (กำหนดประเภทบุคลากร ตำแหน่ง สำนัก/กอง/โรงเรียน ส่วน ฝ่าย แผนก) เพื่อพิมพ์สลิป และรายงานอื่นๆ
5. หากเริ่มใช้งานตั้งแต่ต้นปีควรปล่อยให้เครื่องคำนวณภาษีเองทั้งปี หรือหากเริ่มใช้ระหว่างปีต้องป้อนข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม หรือเดือนที่เริ่มจ่ายเงินในปีภาษี และหากภาษีตามที่ได้นำส่งไว้ไม่ตรงกับที่เครื่องคำนวณให้ป้อนภาษีตามที่นำส่งไว้จริง เมื่อถึงเดือนปัจจุบันจะต้องปล่อยให้เครื่องคำนวณภาษีเองจนถึงสิ้นปี ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การหักภาษีและนำส่งไว้ครบถ้วนพอดี พนักงานไม่มีภาระต้องชำระภาษีเพิ่ม หรือขอคืน ประหยัดงบประมาณในการดำเนินการเร่งรัดหนี้ภาษี หรือคืนภาษี


การทำรายการภาษีประจำเดือน
1. บันทึกรายการรายรับ/รายจ่ายประจำและไม่ประจำ (คำนวณภาษี/ไม่คำนวณภาษี)
2. บันทึกค่าลดหย่อนประจำเดือน กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง
3. สรุปรายการภาษีประจำเดือน (จำเป็นจะต้องทำ ณ สิ้นงวด-เดือน ทุกเดือน)
4. พิมพ์แบบ ภ.ง.ด.1 แนบสื่อฯ ใบแนบ พร้อมชำระภาษี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือนำข้อมูล ภ.ง.ด. 1 ยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตของกรมสรรพากร ไม่ควรพิมพ์ใบแนบไปยื่น หากจะพิมพ์เก็บไว้เป็นสำเนา ณ สำนักงานก็สามารถทำได้
5. พิมพ์ใบรับรองการจ่ายเงินเดือน และพิมพ์รายงานอื่นๆ
6. นำส่งเงินประกันสังคม หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร


การดำเนินการ ณ สิ้นปี
1. ประมวลผลสรุปงบภาษีประจำปี/ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1ก หรือ ภ.ง.ด.1ก(พิเศษ) พร้อมสื่อใบแนบ พิมพ์หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย
2. พิมพ์แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 91 (กรณีปล่อยให้โปรแกรมคำนวณเอง ภาษีจะเป็นศูนย์พอดี)
3. นำข้อมูล ภ.ง.ด.91 ยื่นอินเทอร์เน็ต (กรณีนายจ้างยื่นแทนลูกจ้าง)
4. สรุปงบภาษีประจำปี/สรุปยอดยกไปปีภาษีถัดไป (จำเป็นจะต้องทำก่อนเริ่มปีถัดไป) หากปีภาษีปัจจุบันไม่เสร็จ ไม่ควรเริ่มต้นทำปีภาษีถัดไป

ส่วนที่ 3 การใช้งานโปรแกรมบันทึกแบบแสดงรายการ

1. กำหนดค่าเริ่มต้นต่างๆ เพื่อเริ่มใช้งาน เช่น เช่น ประเภทเงินได้
2. บันทึกแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.1 ก ภ.ง.ด.1ก พิเศษ เอง กรณีที่ไม่ต้องการใช้โปรแกรมเงินเดือน รวมถึงแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.2 ภ.ง.ด.2ก ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53
3. บันทึกแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 แล้วสามารถออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ทันที
4. สอบถามแบบแสดงรายการ หรือใบแนบ ของเดือน/ปี ก่อนหน้าที่เคยบันทึกไว้แล้ว
5. พิมพ์แบบแสดงรายการ หรือใบแนบ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง

ส่วนที่ 4 การสร้างไฟล์ยื่นสื่อและการฝากไฟล์ออนไลน์

1. ติดตั้งโปรแกรม JDK และใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์เรียบร้อยแล้ว
2. สร้างไฟล์ยื่นสื่อจากข้อมูลแบบแสดงรายการ
3. ฝากไฟล์ออนไลน์ แล้วพิมพ์แบบแสดงรายการพร้อมเลขอ้างอิงการรับฝากไฟล์
4. นำแบบแสดงรายการไปยื่นชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (สส.)
5. เจ้าหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงิน เพื่อเป็นหลักฐานการรับยื่นแบบและชำระภาษีตามกฏหมาย

ส่วนที่ 5 คุณสมบัติเครื่องลูกข่ายขั้นต่ำ

คุณสมบัติที่สามารถใช้งานได้มีดังนี้
1. หน่วยประมวลผล (CPU) 1.6 GHz ขึ้นไป
2. หน่วยความจำหลัก (Memory) 512 MB ขึ้นไป
3. ระบบปฏิบัติการ (Operating System) Windows XP SP3 ขึ้นไป
4. Web Browser ตั้งแต่ IE Version 6.0 ขึ้นไป   Google Chrome Version 3.0 ขึ้นไป    Mozilla Firefox Version 3.0 ขึ้นไป


คุณสมบัติที่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมีดังนี้
1. หน่วยประมวลผล (CPU) Core I3 ขึ้นไป
2. หน่วยความจำหลัก (Memory) 2 GB ขึ้นไป
3. ระบบปฏิบัติการ (Operating System) Windows XP SP3 ขึ้นไป
4. Web Browser ตั้งแต่ IE Version 8.0 ขึ้นไป   Google Chrome Version 28.0 ขึ้นไป    Mozilla Firefox Version 23.0 ขึ้นไป
ส่วนที่ 6 ซอฟแวร์ที่จำเป็นต้องใช้ในการแสดงรายงานและสร้างไฟล์ยื่นสื่อ
1. Adobe Acrobat Reader Version 8.0 ขึ้นไป
2. Microsoft Office Excel 2007 ขึ้นไป
3. JDK Version 1.6
ส่วนที่ 7 ติดต่อสอบถาม
1. ปัญหาเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย โปรดติดต่อสอบถาม Call Center 1161
2. ปัญหาการใช้งานโปรแกรม โปรดติดต่อสอบถาม Help Desk โทร. 086-3293143
E-mail : rdwht@rd.go.th